พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2562 ได้กำหนดให้ งานทุกประเภทมีเวลาทำงานปกติวันหนึ่งไม่เกินกี่ชั่วโมง
- 8 ชั่วโมง
- 6 ชั่วโมง
- 10 ชั่วโมง
- 12 ชั่วโมง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2562 ห้ามมิให้นายจ้างจ้างเด็กอายุต่ำกว่ากี่ปีเป็นลูกจ้าง
- 15 ปี
- 13 ปี
- 10 ปี
- 18 ปี
นายจ้างไม่สามารถให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีทำงานในข้อใดได้
- งานใช้เลื่อยเดินด้วยพลังไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์
- งานยกของที่ไม่หนักจนเกินไป
- งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินแต่ไม่เกิน 10 เมตร
- งานเกี่ยวกับความร้อน ความเย็นในระดับที่ปกติ
นายจ้างไม่สามารถให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีทำงานในสถานที่ใด
- บ่อนการพนัน
- ร้านทอง
- โรงงาน
- โรงรับจำนำ
นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงในวันลาเพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกินกี่วัน
- 45 วัน
- 50 วัน
- 60 วัน
- 90 วัน
นายจ้างผิดนัดจ่ายเงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยเท่าไร
- ต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี
- ต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบต่อปี
- ต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดต่อปี
- ต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละสามต่อปี
งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง งานที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในอุโมงค์หรือในที่อับอากาศ งานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสี งานเชื่อมโลหะ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ เวลาทำงานปกติวันหนึ่งไม่เกินกี่ชั่วโมงและไม่เกินกี่ชั่วโมง/สัปดาห์
- ไม่เกิน 7 ชม./วัน และไม่เกิน 42 ชม./สัปดาห์
- ไม่เกิน 7 ชม./วัน และไม่เกิน 48 ชม./สัปดาห์
- ไม่เกิน 8 ชม./วัน และไม่เกิน 42 ชม./สัปดาห์
- ไม่เกิน 8 ชม./วัน และไม่เกิน 48 ชม./สัปดาห์
นายจ้างจะต้องปิดประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นภาษาไทย โดยเปิดเผย ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้างและส่งสำเนาให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ต้องมีลูกจ้างจำนวนเท่าไร
- ตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป
- ตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป
- ตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป
- ตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2562 ได้กำหนดให้ลูกจ้างจะต้องมีวันหยุด รวมวันหยุดวันแรงงานแห่งชาติ โดยพิจารณาจากวันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น อย่างน้อยเท่าไร
- ไม่น้อยกว่า 13 วัน/ปี
- ไม่น้อยกว่า 15 วัน/ปี
- ไม่น้อยกว่า 30 วัน/ปี
- ไม่น้อยกว่า 52 วัน/ปี
หญิงมีครรภ์สามารถลาเพื่อคลอดบุตรได้กี่วันโดยได้รับค่าจ้าง
- ไม่เกิน 45 วัน/ครรภ์
- ไม่เกิน 60 วัน/ครรภ์
- ไม่เกิน 90 วัน/ครรภ์
- ไม่เกิน 100 วัน/ครรภ์
ค่าจ้างขั้นต่ำของไทยตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที 10) ซึ่งได้ประกาศให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที 1 มกราคม 2563 ผู้ใช้แรงงานจะได้ค่าจ้างขั้นต่ำต่ำสุดกี่บาท/วัน
- 313 บาท/วัน
- 315 บาท/วัน
- 335 บาท/วัน
- 336 บาท/วัน
ค่าจ้างขั้นต่ำของไทยตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที 10) ซึ่งได้ประกาศให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที 1 มกราคม 2563 ผู้ใช้แรงงานจะได้ค่าจ้างขั้นต่ำสูงสุดกี่บาท/วัน
- 336 บาท/วัน
- 335 บาท/วัน
- 315 บาท/วัน
- 313 บาท/วัน
ข้อใดกล่าว ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการคุ้มครองการใช้แรงงานสตรี
- ห้ามใช้แรงงานสตรีงานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป
- ห้ามใช้แรงงานสตรีที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีและยังไม่ได้สมรสทำงานตามสถานเริงรมย์และโรงแรม
- ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างสตรีเพราะเหตุมีครรภ์
- ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิง ที่มีครรภ์ทำงานในระหว่างเวลา 22.00น.-06.00น. ทำงานล่วงเวลาทำงานในวันหยุดหรือทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด อาทิ งานยก แบก หามหรือเข็นของหนักเกิน 15 กิโลกรัม
ข้อใดกล่าว ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์แรงงาน
- ถ้าใช้แรงงานมากถือว่ามีความสำคัญมาก อุปทานก็จะเพิ่ม
- ถ้าใช้แรงงานน้อยถือว่ามีความสำคัญน้อย อุปสงค์ก็จะลดลง
- ถ้าอุปสงค์ต่อสินค้าที่กำลังจะผลิตมีมาก อุปสงค์แรงงานก็มากตาม
- ถ้าอุปสงค์ต่อสินค้าที่กำลังจะผลิตมีน้อย ความต้องการแรงงานจะลดลงด้วย
ข้อใดกล่าว ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์แรงงาน
- ถ้าใช้เครื่องกล ทำงานแทนแรงงานคนได้ อุปสงค์ของแรงงานก็จะเพิ่มขึ้น
- การผลิตสินค้าที่ไม่สามารถใช้ปัจจัยการผลิตอื่น เช่น ทุน อันได้แก่เครื่องจักร เครื่องกล มาทดแทนแรงงานได้ ดังนั้นอุปสงค์ต่อแรงงานก็มาก
- ในภาวะที่เศรษฐกิจกำลังเจริญก้าวหน้า ความต้องการแรงงานเพื่อตอบสนองความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมมีมากอุปสงค์ต่อแรงงานจะเพิ่มมาก
- เมื่อยามภาวะเศรษฐกิจซบเซา การสร้างงาน และการจ้างงานมีน้อย อุปสงค์ต่อแรงงานจะน้อยลง
ข้อใดกล่าว ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับปัจจัยที่กำหนดอุปทานของแรงงาน
- ค่าจ้างของแรงงานจะผกผันกับปริมาณของแรงงาน
- เส้นอุปทานจะลาดเอียงจากล่างขึ้นบน Slope Upward หรือ จากซ้ายไปขวา
- อุปทานของแรงงานจะเหมือนกับอุปทานของสินค้าทั่ว ๆ
- ถ้าค่าจ้างต่ำ อุปทานของแรงงานต่ำหรืออุปทานของแรงงาน จะแปรตามราคาค่าจ้าง
ข้อใดหมายถึงระดับดุลยภาพของค่างจ้าง
- ระดับที่อุปสงค์แรงงานเท่ากับอุปทานแรงงาน
- ระดับที่ผู้ใช้แรงงานต้องการทำงาน
- ระดับที่นายจ้างต้องการแรงงาน
- ระดับที่รัฐบาลกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ
ถ้ารัฐกำหนดให้ค่าจ้างขั้นต่ำสูงกว่าระดับดุลยภาพของค่างจ้างจะเกิดเหตุการณ์ใด
- ทำให้เกิดอุปทานส่วนเกิน
- ขาดแคลนแรงงาน
- ทำให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน
- คนตกงานลดลง
ถ้าค่าจ้างขั้นต่ำต่ำกว่าระดับดุลยภาพของค่างจ้างจะเกิดเหตุการณ์ใด
- ทำให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน
- ทำให้เกิดอุปทานส่วนเกิน
- คนตกงานเพิ่มขึ้น
- การว่างงานลดลง
ข้อใดหมายถึงปริมาณดุลของปริมาณแรงงาน
- อุปงค์ของแรงงานเท่ากับอุปทานของแรงงาน
- อัตราค่าจ้างเท่ากับอุปสงค์ของแรงงงาน
- อัตราค่าจ้างเท่ากับอุปทานของแรงงงาน
- อัตราค่าจ้างเท่ากับปริมาณของแรงงงาน